วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การเมือง

รูปแบบการปกครอง


รัฐสภาเป็นระบบสภาเดียวโดยสมาชิกทั้งหมด 225 คน ได้รับเลือกจากประชาชนทุก ๆ 6 ปี ผู้มีสิทธิออกเสียงต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป ประธานาธิบดีมาจาก การเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน อยู่ในตำแหน่ง 6 ปี มีฐานะเป็นประมุขของประเทศและหัวหน้ารัฐบาล เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี และมีอำนาจถอดถอนนายก รัฐมนตรีและรัฐมนตรี การปกครองท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 24 เขตการปกครอง แต่ละเขตปกครองโดยผู้ว่าราชการ (Governor) ที่มาจากการแต่งตั้ง และแต่ละเขตมีสภาการพัฒนา (Development Council) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน

ประมุขของรัฐและหัวหน้า ประธานาธิบดีจันทริกา บันดารานัยเก กุมาราตุงคะ รัฐบาล (Mrs. Chandrika Bandaranaike Kumaratunga) เข้ารับตำแหน่งสมัยแรกเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2537 (ค.ศ.1994) และสมัยที่สองเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2542 (ค.ศ. 1999) นายกรัฐมนตรี นายรัตนาสิริ วิเกรมานัยเก (Ratnasiri Wickremanayake) เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนสิงหาคม 2543 (ค.ศ. 2000) สืบแทนนางสิริมาโว บันดารานัยเก (Sirimavo Bandaranaike) และได้รับการแต่งตั้งเป็น นรม. เป็นสมัยที่ 2 ภายหลังการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2544 รัฐมนตรีต่างประเทศ นาย Lakshman Kadirgamar เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2537 (ค.ศ. 1994) คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยรัฐมนตรี 44 คน ประธานรัฐสภา นาย Anura Bandaranaike (น้องชายของประธานาธิบดี แต่สังกัดพรรคฝ่ายค้าน)

พรรคการเมือง


ปัจจุบันมีพรรคการเมืองใหญ่น้อยประมาณ 30 พรรค มีพรรคการเมืองสำคัญ ๆ ได้แก่ - พรรค Sri Lanka Freedom Party (SLFP) - พรรค United National Party (UNP) - พรรค Tamil United Liberation Front (TULF) - พรรค Ceylon Workers’ Congress (CWC) - พรรค Sri Lanka Mahajana Party (SLMP) - พรรค Janatha Vimukti Peramuna (JVP) หรือ People’s Liberation - พรรค Sri Lanka Muslim Congress (SLMC)


การเมืองภายในของศรีลังกาปัจจุบัน


ศรีลังกาเป็นประเทศที่ประกอบด้วยประชากรหลายเชื้อชาติ ศาสนา แต่การเมืองภายในมีพรรคการเมืองที่สำคัญเพียง 2 พรรคของชนชาติสิงหล คือ SLFP (Sri Lanka Freedom Party) และพรรค UNP (United National Party) ที่แข่งขันช่วงชิงอำนาจทางการเมือง พรรคการเมืองอื่น ๆ ซึ่งเป็นพรรคของชนเชื้อสายทมิฬและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ เป็นพรรคย่อยและมีความสำคัญน้อย นับแต่ศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491 (ค.ศ. 1948) จนถึงปัจจุบันพรรค SLFP และพรรค UNP ผลัดกันเป็นรัฐบาลมาโดยตลอด โดยทั้งสองพรรคดังกล่าวนิยมระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน แต่ต่างกันที่นโยบายเศรษฐกิจของพรรค SLFP มีลักษณะเป็นสังคมนิยม ในขณะที่พรรค UNP มีนโยบายเศรษฐกิจเสรี



การแบ่งเขตการปกครอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น